เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของน้ำ รวมถึงพลังงานที่ได้จากน้ำ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
4
1 - 5
มิ.ย.
58
โจทย์ น้ำ

Key Question :
น้ำจะกลายเป็นรูปอื่น (เปลี่ยนสถานะ) อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

เครื่องมือคิด :
·      Brainstorms 
 - ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของของเหลงทั้งสามชนิด
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการเกิดพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ
·     Round Robin
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลการทดลองการเกิดเมฆ ฝน
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในคลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
·     Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานสรุปการทดลองการแข็งและการเดือดของของเหลวแต่ละชนิด
  - ติดชิ้นงานชาร์ตความรู้การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
- ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   คลิป“การก่อตัวของเมฆก่อนเกิดฝน” และการทำฝนเทียม”
-   สื่อจริง อุปกรณ์ใช้ในการทดลองต่างๆ เช่น แก้วน้ำ น้ำแข็ง
-   คลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
-   แท็บเล็ต
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูให้นักเรียนดูคลิป “การก่อตัวของเมฆก่อนเกิดฝน” และการทำฝนเทียม”
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงเป็นอย่างนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในคลิป และให้เหตุผลประกอบ
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบทดลองการก่อตัวของเมฆและเกิดฝนได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับออกแบบทดลองการก่อตัวของเมฆและเกิดฝน
ชง : ครูและนักเรียนทดลอง “การก่อตัวของเมฆฝนจนเกิดฝนตก”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการทดลองที่เกิดขึ้น
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปการทดลอง (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูให้นักเรียนดูคลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
 - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมีวิธีการอย่างไรบ้าง?” “ส่วนใหญ่ผลิตที่ไหนบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
ใช้ : นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลวิธีการผลิตไรผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและค้นหาสถานที่ผลิต เป็นชาร์ตความรู้

วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :  
-   นักเรียนสังเกต สิ่งต่างๆ รอบตัวเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบ เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ผลไม้ ฯลฯ
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับน้ำบ้าง ถ้าไม่มีน้ำจะเกิดอะไรขึ้น คิดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการระเหยของน้ำ
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ภาระงาน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของน้ำ 
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล เกี่ยวกับการเกิดเมฆฝน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์ เกี่ยวกับการระเหยของน้ำจากสิ่งต่างๆ รอบตัว

ชิ้นงาน
-   สรุปการทดลองการการเกิดฝนและเมฆ
-   ชาร์ตความรู้การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของน้ำ รวมถึงพลังงานที่ได้จากน้ำ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- อธิบาย สรุปองค์ความรู้ได้จากการทดลองและดูคลิป
ทักษะการสื่อสาร
พูดอธิบายนำเสนอผลการทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะ ICT
-  อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น สอบถามผู้รู้ อินเทอร์เน็ต
ทักษะการจัดการข้อมูล
การจัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทดลองอย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะทำการทดลองต่างๆ ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบตกแต่งสรุปการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการทดลอง เช่น ไฟลุก น้ำที่ทดลองหก สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ทดแทนได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการค้นหารข้อมูลการทดลองต่างๆ
มีความพยายาม อดทนในการทดลองเพื่อหาคำตอบให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะทดลอง



กิจกรรม
















 ชิ้นงาน













1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 4 ของการเรียนนี้มีวันจันทร์หยุดมาฆบูชา 1 วัน คุณครูจึงนำการเรียนรู้ในวันจันทร์มาเรียนในวันอังคาร โดยให้นักเรียนได้ดูคลิปการเกิดฝนและเมฆก่อนการทดลอง พี่ๆ ป.3 ตื่นเต้นกับการทดลองและมีความกระตือรือร้นที่อยากทำ
    ก่อนทำการทดลองครูตั้งคำถามกับพี่ๆ “ฝนเกิดจากอะไร”
    พี่วาหวา “น้ำจากทะเลระเหยขึ้นไป แล้วตกลงมาเป็นฝนค่ะ”
    พี่ต้นกล้า “ไอน้ำในอากาศครับแล้วตกลงมา”
    ครูตั้งคำถามต่อ “แล้วก่อนฝนจะตก พี่ๆ คิดว่าอากาศจะเป็นอย่างไรคะ”
    พี่ฟีฟ่า “อากาศเย็นๆ เหมือนตอนนี้ค่ะคุณครูที่ฝนกำลังจะตก”
    พี่เจมส์ “อากาศร้อน ๆ แล้วก็เย็นๆ ครับ” เพื่อนๆ ช่วยกันตอบคล้ายๆ กัน
    จากนั้นครูแนะนำอุปกรณ์การทดลอง และพี่ๆ ทดลอง การจำลองการเกิดเมฆและฝน เมื่อทดลองเสร็จทุกคนสรุปการเรียนรู้ของตนเอง
    วันศุกร์ครูนำเรื่องที่จะเรียนรู้ในวันอังคารมาแทน และการเรียนรู้ในวันศุกร์เรื่องน้ำที่เป็นส่วนประกอบในสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา คุณครูจะไปเชื่อมโยงกับสัปดาห์ที่ 5 ซึ่งวันศุกร์นี้คุณครูนำคลิปเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงพลังน้ำเป็นพลังงานไฟฟ้าให้นักเรียนได้ดู ซึ่งพี่ๆ ให้ความสนใจดีมาก จากนั้นครูให้พี่ๆ ช่วยกันเล่าสิ่งที่สังเกตเห็นในคลิปว่าน้ำเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างไรบ้าง
    พี่ไอซ์ “น้ำไปหมุนกังหันแล้วน้ำก็เป็นไฟฟ้าค่ะ”
    พี่โอ๊ต “น้ำไปเป็นไฟฟ้าแล้วก็ไปให้ชาวบ้านทำการเกษตรครับ”
    ครูเหมี่ยว “จากคลิปที่เราดู พี่ๆ คิดว่า น้ำกลายไปเป็นไฟฟ้าหรือไปทำอะไรบ้างคะ” ครูเหมี่ยวให้พี่ๆ เปิดคลิปสังเกตในคลิปอีกรอบ พี่ๆ ตั้งใจดูและค้นหาคำตอบว่าน้ำจะกลายเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างไรบ้าง หลังจากดูแล้วพี่ๆ ก็ช่วยกันอธิบายอีกครั้งว่า ใช้พลังน้ำหมุนกังหันน้ำที่ต่อกับตัวกำเนิดไฟฟ้าและไปยังตัวควบคุมไฟฟ้า และน้ำที่หมุนใบพัดจะไปใช้ในการเกษตรบ่ายครูและพี่ๆ ทบทวนกิจกรรมวันนี้และพี่ๆ สรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์ของตนเองค่ะ
    สำหรับหนอนไหม เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (วันพฤหัสบดี ที่ 28 พ.ค. 58) ผู้ปกครองนำตัวบี้ที่เริ่มออกไข่ตั้งแต่วันพุธมาให้นักเรียนได้สังเกต และพี่ๆ สนใจมาก ได้ฟักเป็นตัวหนอนในวันศุกร์ที่ 5 มิ.ย. 58 ซึ่งเป็นเวลา 9 วันพอดี พี่ๆ ตื่นเต้นกับตัวหนอน ซึ่งตัวเล็กมา ครูจึงนำแว่นขยายมาให้ดู ทุกคนยิ่งตื่นเต้นเพิ่มขึ้นอีก หลังจากนั้นพี่ๆ ช่วยกันนำชั้นวางตะกร้ามาไว้ที่ห้องเรียนเพื่อเตรียมเลี้ยงหนอนไหมตะกร้าของตนเองค่ะ

    ตอบลบ