เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

week5



เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของน้ำ รวมถึงพลังงานที่ได้จากน้ำ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
4
1 - 5
มิ.ย.
58
โจทย์ น้ำ

Key Question :
น้ำจะกลายเป็นรูปอื่น (เปลี่ยนสถานะ) อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

เครื่องมือคิด :
·      Brainstorms 
 - ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของของเหลงทั้งสามชนิด
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการเกิดพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ
·     Round Robin
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลการทดลองการเกิดเมฆ ฝน
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในคลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
·     Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานสรุปการทดลองการแข็งและการเดือดของของเหลวแต่ละชนิด
  - ติดชิ้นงานชาร์ตความรู้การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
- ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   คลิป“การก่อตัวของเมฆก่อนเกิดฝน” และการทำฝนเทียม”
-   สื่อจริง อุปกรณ์ใช้ในการทดลองต่างๆ เช่น แก้วน้ำ น้ำแข็ง
-   คลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
-   แท็บเล็ต
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูให้นักเรียนดูคลิป “การก่อตัวของเมฆก่อนเกิดฝน” และการทำฝนเทียม”
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงเป็นอย่างนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในคลิป และให้เหตุผลประกอบ
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบทดลองการก่อตัวของเมฆและเกิดฝนได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับออกแบบทดลองการก่อตัวของเมฆและเกิดฝน
ชง : ครูและนักเรียนทดลอง “การก่อตัวของเมฆฝนจนเกิดฝนตก”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการทดลองที่เกิดขึ้น
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปการทดลอง (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูให้นักเรียนดูคลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
 - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมีวิธีการอย่างไรบ้าง?” “ส่วนใหญ่ผลิตที่ไหนบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
ใช้ : นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลวิธีการผลิตไรผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและค้นหาสถานที่ผลิต เป็นชาร์ตความรู้

วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :  
-   นักเรียนสังเกต สิ่งต่างๆ รอบตัวเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบ เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ผลไม้ ฯลฯ
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับน้ำบ้าง ถ้าไม่มีน้ำจะเกิดอะไรขึ้น คิดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการระเหยของน้ำ
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ภาระงาน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของน้ำ 
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล เกี่ยวกับการเกิดเมฆฝน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์ เกี่ยวกับการระเหยของน้ำจากสิ่งต่างๆ รอบตัว

ชิ้นงาน
-   สรุปการทดลองการการเกิดฝนและเมฆ
-   ชาร์ตความรู้การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของน้ำ รวมถึงพลังงานที่ได้จากน้ำ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- อธิบาย สรุปองค์ความรู้ได้จากการทดลองและดูคลิป
ทักษะการสื่อสาร
พูดอธิบายนำเสนอผลการทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะ ICT
-  อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น สอบถามผู้รู้ อินเทอร์เน็ต
ทักษะการจัดการข้อมูล
การจัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทดลองอย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะทำการทดลองต่างๆ ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบตกแต่งสรุปการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการทดลอง เช่น ไฟลุก น้ำที่ทดลองหก สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ทดแทนได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการค้นหารข้อมูลการทดลองต่างๆ
มีความพยายาม อดทนในการทดลองเพื่อหาคำตอบให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะทดลอง


กิจกรรม 














ชิ้นงาน














2 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของดินชนิดต่างๆ โดยวันจันทร์ครูนำดินมาให้พี่ๆ ได้สังเกต 3 ชนิด คือดินเหนียว ดินทรายและดินร่วน ซึ่งพี่ๆ รู้จักดินทั้งสามชนิด รวมทั้งบอกลักษณะภายนอกของดินได้ หลังจากนั้นครูนำอุปกรณ์มาให้นักเรียนได้สังเกต พร้อมอธิบายวิธีการทดลอง แต่ยังไม่ได้บอกว่าจะทดลองอะไร เมื่ออธิบายเสร็จ ครูให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มเตรียมการทดลอง เมื่อพี่ๆ ได้ทำการทดลองเรียบร้อย ครูและพี่ๆ สนทนาแลกเปลี่ยนกันว่าสิ่งที่พี่ๆ ทดลองเห็นอะไรบ้าง
    พี่ก้อง “เห็นน้ำไหลครับ ดินเหนียวน้ำไหลเร็วมาก และใส”
    พี่พี “ของผมดินเหนียวน้ำไม่ค่อยไหลครับ ดินทรายเร็วมาก ดินร่วนน้ำไม่ใสแต่ไหนเร็วกว่าดินเหนียว
    ครูจึงตั้งคำถามกับพี่ๆ ทำไมการทดลองของพี่ก้องและพี่พีได้ผลการทดลองไม่เหมือนกันคะ
    พี่แม็ค “ผมเห็นว่าดินเหนียวมีช่องให้น้ำไหลครับ แต่ดินอื่นไม่มี” และเพื่อนคนอื่นๆ ช่วยกันตอบผลการทำลองของตนเอง จากนั้นครูให้พี่ๆ สรุปการทดลองของตนเอง การบ้านวันนี้ พี่ๆ นำดินเหนียวมาในวันพรุ่งนี้ (วันอังคาร)
    วันอังคารครูเริ่มกิจกรรมด้วยการทดลองการอุ้มน้ำของดินอีกครั้ง ให้พี่ๆ ได้สังเกต ซึ่งการทดลองครั้งนี้พี่ๆ เห็นเหมือนกันว่า ดินที่น้ำซึมผ่านเร็วที่สุดคือ ดินทราย ดินร่วน และดินเหนียวตามลำดับ ดินเหนียวในวันนี้น้ำไม่ซึมผ่านลงไป ครูจึงให้โอกาสนี้ตั้งคำถามกระตุ้นการคิดกับพี่ๆ ว่า จากคุณสมบัติของดินเหนียวนี้ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง”
    พี่ทิวลิป “เอามากรองน้ำค่ะ หนูเห็นน้ำใส กว่าดินชนิดอื่น”
    พี่ฟีฟ่า “หนูว่าเอามาทำที่ใส่น้ำกินค่ะ”
    พี่แป๋ม “ทำที่ใส่ดินสอค่ะ” เพื่อคนอื่นๆ ช่วยกันเสริม เช่น ทำจาน ทำถ้วย ทำโอ่ง ตุ๊กตา ฯลฯ จากนั้นครูและพี่ๆ ปั้นดินเหนียวเป็นรูปต่างๆ
    วันศุกร์ครูให้พี่ๆ ทดลองการคงสภาพของเครื่องปั้นที่พี่ๆ ปั้นไว้เมื่อวันอังคาร โดยครูเทน้ำลงในเครื่องปั้นของพี่พี ของคุณครู และเครื่องปั้นโอ่งเล็กที่เผาแล้ว ผลปรากฏว่าเครื่องปั้นที่เผาแล้วไม่แตกและเก็บน้ำได้ดี ส่วนอันอื่นแตก ครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่า “พี่ๆ คิดว่าเป็นเพราะอะไร” พี่ก้อง “โอ่งเผาแล้วจึงทนครับ” เพื่อนคนอื่นบอกเพราะอันที่เราปั้นบางกว่า และดินยังไม่แห้งดี จากนั้นครูและพี่ๆ ได้ดูคลิป “เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน” ซึ่งพี่ๆ ได้ความรู้ใหม่จากการดูคลิป คือต้องตากดินเหนียวให้แห้ง ผสมกับดินทราย จากนั้นครูและพี่ๆ ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์และเขียนสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ
  2. หนอนไหม ในสัปดาห์นี้ผู้ปกครองอาสา ได้มาทำขาตั้งชั้นวางหนอนไหมของพี่ๆ ป.3 และหนอนไหมของพี่ๆ ก็โตขึ้นจากสัปดาห์แรก ในสัปดาห์หน้าพี่ๆ ทุกคนจะได้เลี้ยงหนอนไหมของตนเองแล้วค่ะ

    ตอบลบ