เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

week8

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายแหล่งกำเนิดแสง การเปลี่ยนแปลงของแสงที่เดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน รวมทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
8
29-30
มิ.ย.
1-3
ก.ค.
58
โจทย์ แสง

Key Question :
แสงเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง และมีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
-     ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดแสง
-     ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดลองสมบัติของแสง
·    Round Robin
-     สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจุดไฟแบบต่างๆ
-     สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลการทดลองสมบัติของแสง
·  Web การจุดไฟด้วยวิธีต่างๆ
·  Wall Thinking
-     ติดชิ้นงานการ์ตูนช่องการเกิดไฟ
-     ติดชิ้นงานชาร์ตความรู้การทดลองการหักเหแสง
-      ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   คลิป “การทำไม้ขีดไฟ”
-    สื่อจริง อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง เทียน ไฟฉาย
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “แสงเกิดขึ้นมาได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดแสง                  
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกต ไม้ขีดไฟ ไฟฉาย เทียนไข ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง สิ่งของนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันของไม้ขีดไฟ ไฟฉาย เทียนไข
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้านักเรียนไม่มีไม้ขีดไฟ นักเรียนจะสามารถจุดไฟได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจุดไฟ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำลองจุดไฟด้วยวิธีต่างๆ เช่น หิน ไม้ และแว่นขยาย  โดยใช้เครื่องมือคิด Web
การบ้าน นำไฟฉายมาในวันอังคาร

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-    นักเรียนสังเกตการทดลองการหักเหของแสงในตัวกลางต่างๆ (แก้วน้ำ 3 ใบ ใส่แก้วเล็กลงไป ใบที่ 1 ไม่ใส่ตัวกลางอะไรเลย ใบที่ 2 ใส่ตัวกลางน้ำ ใบที่ 3  ใส่ตัวกลางน้ำมัน)
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นในแก้วแต่ละใบ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกิดอะไรขึ้นกับแก้วใบเล็กทั้งสามใบ และสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกัน
ใช้ :
-   นักเรียนแบ่งกลุ่ม ทดลองการเดินทางของแสง  (ตัดกระดาษเป็นช่อง ใช้ไฟฉายส่องผ่าน)
-   นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนชาร์ตสรุปผลการทดลอง และนำเสนอ

วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :  ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เมื่อแสงส่องผ่านวัตถุจะเป็นอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแสงเมื่อส่องผ่านวัตถุ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มทดลองแสงตกกระทบกับวัตถุ แสงจากดวงอาทิตย์กับเงาของเรา และบันทึกการทดลอง
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เราสามารถนำความรู้เรื่องเงาไปใช้อย่างไรในชีวิตประจำวันบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเงาเกี่ยวข้องกับเราในชีวิตประจำวัน
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-       “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
(การบ้าน นักเรียนนำ ไข่ จานสังกะสี จานพลาสติก แผ่นไม้ มาในวันจันทร์)
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแสงเกิดขึ้นได้อย่างไร
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจุดไฟ
-   วิเคราะห์ การเดินทางของแสง และการหักเห

ชิ้นงาน
-    Web การจุดไฟ
-    ชาร์ตความรู้การทดลองการหักเหและการเดินทางของแสง
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและอธิบายแหล่งกำเนิดแสง การเปลี่ยนแปลงของแสงที่เดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน รวมทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
นำวัสดุง่ายๆ จุดไฟได้
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
นำเรื่องที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (เช่น การหักเหของแสง)
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทดลองการหักเหแสง

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการเปลี่ยนสถานะหักเห และการเดินทางของแสง

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ



กิจกรรม           






























 ชิ้นงาน


















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับแสง สัปดาห์นี้ไม่ได้เรียนตามแผน เนื่องจากวันจันทร์ฝนตก ครูจึงนำกิจกรรมการเรียนรู้ในวันอังคารมาเรียนก่อน แต่ได้ตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “แสงมีแหล่งกำเนิดจากที่ใดบ้าง พี่ๆ ช่วยกันเสนอความคิดเห็น
    พี่เจมส์ “จุดไฟครับ” พี่ก้อง “ไฟแช็ครับ” เพื่อนคนอื่น เตาแก็ส เทียนไข พี่โอ๊ต “ดวงอาทิตย์ครับ” ครูจึงให้คำถามต่อ คนเรามองเห็นได้อย่างไรค่ะ พี่ๆ บอกว่าเพราะดวงอาทิตย์บ้าง จุดไฟบ้าง จากนั้นครูให้นักเรียนได้สังเกตการทดลองการหักเหของแสงผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน ครูกระตุ้นด้วยคำถาม เห็นอะไรบ้าง ซึ่งพี่ๆ หลายคนแปลกใจในการทำลองนี้ว่า แก้วใบเล็กที่อยู่ด้านในใบใหญ่หายไปได้อย่างไร
    พี่บิว “สีของน้ำใส สีของน้ำมันพืชเข้มกว่า ทำให้เห็นไม่ชัด” เพื่อคนอื่น ๆ ตอบคลายๆ กัน
    ครูจึงถามต่อว่า “นักเรียนคิดว่าถ้าเทน้ำลงไปในน้ำมันอะไรจะอยู่ด้านบนสุด
    พี่ก้อง “น้ำมันครับ”
    พี่โอ๊ต “ผมว่า น้ำครับ” จากนั้นครูพาพี่ๆ ทดลองเทน้ำในน้ำมัน และถามต่อว่าคิดว่าทำไมน้ำมันจึงอยู่ด้านบน พี่เจมส์ “มันลื่นๆ ครับเลยอยู่ด้านบน” บางคนบอกว่าเพราะเบากว่าน้ำ บางคนบอกว่าสังเกตเอาจากตอนล้างจาน จากนั้นครูและพี่ๆ ทดลองการโดนทางของแสง ผ่านช่องกระดาษเล็กและใหญ่ โดยพี่ๆ แต่ละกลุ่มช่วยกันทำสรุปผลการทดลอง
    วันอังคาร ทำกิจกรรมการจุดไปจากแผนในวันจันทร์ โดยครูทบทวนแสงเกิดขึ้นได้อย่างไร จากนั้นครูตั้งคำถาม “ถ้าไม่มีไฟแช็ค ไม่มีไม้ขีด นักเรียนจะจุดไฟได้อย่างไรบ้าง พี่ฟีฟ่า “แว่นขยายครับ ผมเคยทำ” พี่ต้นกล้า “เอาไม้หมุนไม้ที่เจาะรูแล้ว” พี่แม็ค “เอาถ่านไฟฉายตากแดดครับ” พี่ก้อง “เอาหินทุบกัน ผมเคยดูในละคร” จากนั้นครูแบ่งกลุ่มให้พี่ๆ ได้ทดลอง จากนั้นทุกคนได้สรุปการทดลองของตนเอง โดยมีแว่นขยายเท่านั้นที่เกิดไฟขึ้น ครูจึงถามพี่ๆ ว่าคิดว่าทำไมวิธีอื่นๆ ไฟไม่ติด พีๆ บอกว่า ใช้เวลาน้อยบ้าง ถูก้อนหินไม่นานบ้าง แต่ก็พอร้อนๆ จากนั้นพี่ๆ สรุปการทดลองโดยใช้เครื่องมือการคิด Web
    วันศุกร์ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าแสงส่องผ่านวัตถุต่างๆ จะเกิดอะไรขึ้น” พี่ๆ บอกว่ามองเห็นสิ่งของชัดเจน พี่เจมส์ “เงาครับ” จากนั้นครูให้พี่ๆ ทดลองส่องไฟฉายผ่านวัตถุ หลังจากนั้นครูตั้งคำถามต่อ แสงส่องผ่านวัตถุเกี่ยวข้องอย่างไรกับเราบ้าง ในชีวิตประจำวันเราจะนำเราเงาไปใช้ได้อย่างไรบ้าง” พี่ๆ ต่างช่วยกันคิด พี่เจมส์บอกว่า บอกเวลาครับ ครูจึงถามต่อ เงาบอกเวลาเราได้อย่างไร พี่ๆบอกว่า ตอนเช้าเงาของเราจะใหญ่ แต่ตอนเที่ยงๆ เงาจะเล็กลง เพื่อนบางคนยังไม่เข้าใจนัก ครูจึงพาพี่ๆ ออกไปสังเกตเงา ตอน 11.30 น. ปรากฏว่าเงาไม่ใหญ่นักและอยู่ทางทิศตะวันตก และนัดแนะกันมาดูเงาเวลา 13.30 น. ปรากฏว่าเงาขนาดยังเล็กแต่ทิศทางไปทางทิศตรงกันข้ามคือ ทิศตะวันออก จากนั้นพี่ๆ ทบทวนความรู้ที่เรียนรู้มาทั้งสัปดาห์และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8
    สัปดาห์นี้หนอนไหมของพี่ ป.3 เริ่มสุกแล้ว และสุกมากในกลางสัปดาห์พี่ๆ บางคนมาแต่เช้าเพื่อมาดูหนอนไหมของตนเอง และช่วยกันเก็บหนอนไหมใส่จ่อ เพื่อให้ชักใยเป็นดักแด้ และมีผู้ปกครองมาช่วยกันเก็บหนอนไหมและให้อาหาร

    ตอบลบ