เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

main

Mind mapping





คำถามหลัก (Big Question) :

                                 ทำไมสรรพสิ่งรอบตัวเราถึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง

ภูมิหลังของปัญหา :
             ในตอนเด็กๆ เราเคยสงสัยไหมว่าทำไมไอศกรีมที่เรากิน เมื่อทิ้งไว้นานๆแล้วต้องละลายกลายเป็นของเหลว น้ำเมื่อนำไปใส่ตู้เย็นจะกลายเป็นน้ำแข็ง แต่เมื่อนำมาวางไว้นอกตู้เย็นจะละลายกลายเป็นน้ำ และเมื่อตั้งไว้นานๆ น้ำก็จะแห้งไป ซึ่งในชีวิตประจำวันเราได้เจอและสัมผัสสิ่งเหล่านี้อยู่แทบทุกวัน ในความเป็นจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น การเปลี่ยนรูปร่างหนอนกลายเป็นผีเสื้อ , ไม้กลายเป็นหิน, เครื่องปั้นดินเผา และฝนเทียมเป็นต้น มนุษย์เราทุกคนไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ แม้แต่ร่างกายของเราก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้ตัวและไม่ทันสังเกต ถ้าเราตระหนักเข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์เหล่านี้ เราก็จะเข้าใจในทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ได้
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น นักเรียนจำเป็นที่ต้องเรียนรู้หน่วย Transformers เพื่อให้เข้าใจ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เพื่อนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน


เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้             


ปฏิทินการเรียนรู้
หน่วย “Transformer
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2558


Week
Input
Process
Output
Outcome
1
14-15
..
58
โจทย์ สร้างฉันทะ/สร้างแรงบันดาลใจ

Key Question :
นักเรียนคิดว่าทำไมโลกนี้ถึงมีการเปลี่ยนแปลง?

เครื่องมือคิด :
·     Brainstorms 
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของก้อนน้ำแข็ง
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการทำไอศกรีม
·     Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยววิธีการทำไอศกรีม
·     Placemats การเปลี่ยนรูปของน้ำแข็ง (เปลี่ยนสถานะ)
·    Wall Thinking 
    - ติดชิ้นงานสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสังเกตก้อนน้ำแข็ง
    - ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
-      บรรยากาศในชั้นเรียน
-        สื่อจริง น้ำแข็ง นม เกลือ

-   ครูให้นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของก้อนน้ำแข็ง                             
-   ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น และได้เรียนรู้อะไรบ้าง
-   ครูให้นักเรียนทำไอศกรีมนม
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการวางก้อนน้ำแข็งไว้นานๆ
-   วิเคราะห์ และสรุปว่าเพราะเหตุใดนมจึงกลายเป็นน้ำแข็งได้

ชิ้นงาน
-   ไอศกรีมนม
-   สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสังเกตก้อนน้ำแข็ง
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-   เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-   สามารถใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำไอศกรีมได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทดลองการเปลี่ยนสถานะของแข็งและการทำไอศกรีมนม
 - คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ (ทำไอศกรีมนม)

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการเปลี่ยนสถานะของน้ำแข็งและการทำไอศกรีมนม

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
2
18 - 22
..
58
โจทย์ วางแผนการเรียนรู้

Key Questions :
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะอะไร?
- นักเรียนจะตั้งชื่อสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ว่าอย่างไร?
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร?
- นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ “การเปลี่ยนแปลง”?

เครื่องมือคิด :
·     Brainstorms 
-      ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากรู้และสิ่งที่รู้แล้ว
-      ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
-      ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดลอง
·  Blackboard Share ออกแบบกิจกรรมในปฏิทินในแต่ละสัปดาห์
·   Card and Chart เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
·   Think Pair Share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
·   Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
·   Wall Thinking 
-     ติดชิ้นงานใบงานการทดลองการเปลี่ยนแปลง
-     ติดชิ้นงานปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
-     ติดชิ้นงานป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
-     ติดชิ้นงานสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
-      บรรยากาศในชั้นเรียน
-      สื่อจริง เทียนไข ดินน้ำมัน น้ำ 
-  ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-  ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งของ 3 อย่าง (น้ำ ดินน้ำมัน เทียนไข) พร้อมกับตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเกี่ยวกับสิ่งของเมื่อถูกความร้อนและเย็น
-  ทดลองเมื่อ น้ำ ดินน้ำมัน เทียนไขถูกความร้อนและเย็นพร้อมสรุปผลการทดลอง
-   นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Card and Chart 
-   นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Think  Pair  Share
-   ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ โดยผ่านเครื่องมือคิดการคิด Blackboard Share
-   นักเรียนเขียนป้ายชื่อหน่วยการเรียน สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ ลงในกระดาษแผ่นใหญ่
-   นักเรียนช่วยกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ 11 สัปดาห์ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Blackboard Share
-   นักเรียนเขียนปฏิทินการเรียนรู้ลงในกระดาษ A3
-   นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย)
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดจากความร้อน/ความเย็น จากการทดลอง
-   นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
                               
ชิ้นงาน
-   ใบงานสรุปการทดลองการเปลี่ยนแปลง
-   Card  and Chart เลือกหน่วยการเรียน
-   ป้ายชื่อหน่วยการเรียน
- สิ่งที่รู้แล้วและ สิ่งที่อยากเรียนรู้
เค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้ 11 สัปดาห์
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-   สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
-   เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์



ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเรา
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สามารถสร้างทางเลือกในการวางแผนปฏิทินและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ได้
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้  หัวข้อหน่วยการเรียนรู้ที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ


คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
3
25 - 29
..
58
โจทย์ เปลี่ยนสถานะของน้ำ (ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง)

Key Question :
นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรให้น้ำแข็งละลายได้ช้าที่สุด?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
-         ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับแหล่งที่มาของน้ำ
-         ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่จะนำมาทำให้น้ำแข็งละลายช้าที่สุด
·  Round Robin
-         สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้น้ำแข็งละลายช้า
-          สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับลักษณะของของเหลวสามชนิดน้ำเปล่า น้ำเกลือ น้ำเชื่อม
-         สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำให้นมกลายเป็นของแข็ง
·  Round Table เขียนแหล่งกำเนิดของน้ำ
·  Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานสรุปการทดลองการละลายของน้ำแข็ง
  - ติดชิ้นงานสรุปการทดลองการรักษาสภาพน้ำแข็ง

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   สื่อจริง อุปกรณ์ใช้ในการทดลองต่างๆ เช่น น้ำแข็ง น้ำเปล่า น้ำเชื่อม น้ำเกลือ
-   นม วุ้น และผลไม้
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “น้ำมาจากไหน?”
-   นักเรียนเขียนที่มาของแหล่งน้ำที่นักเรียนรู้จัก โดยผ่านเครื่องมือการคิด Round Table
-   ครูให้นักเรียนสังเกต “น้ำแข็งที่ใส่ในแก้ว” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
-   นักเรียนทดลองหาวิธีที่จะทำให้น้ำแข็งอยู่ได้นานที่สุด (โดยใช้แกลบ ดิน ฯลฯ)
-   นักเรียนเขียนสรุปการทดลอง (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)
- ครูนำน้ำเปล่า น้ำเกลือ น้ำเชื่อม ให้นักเรียนสังเกต “ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า ทั้งสามชนิดอะไรจะกลายเป็นน้ำแข็งก่อน และอะไรจะเดือดก่อน?”
- นักเรียนทำการทดลอง แช่น้ำทั้งสามชนิดในตู้เย็น และต้มจนเดือด รวมทั้งวัดอุณหภูมิ (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)
- ครูและนักเรียนทบทวนการเปลี่ยนสถานะของของเหลวเป็นของแข็ง
- ครูและนักเรียนทำวุ้นผลไม้
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของน้ำ 
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล เกี่ยวกับการทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำให้น้ำเป็นน้ำแข็ง และน้ำกลายเป็นแก๊ส
-    สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำวุ้นนม

ชิ้นงาน
-   สรุปการทดลองการคงสภาพของน้ำแข็ง
-   สรุปการทดลองการเปลี่ยนสถานะของของเหลว
-   วุ้นนมใส่ผลไม้
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถบอกวิธีที่จะคงสภาพของน้ำแข็งให้นาน อีกทั้งนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- มีเป้าหมายและมีการวางแผนในการทดลองหาวิธีให้น้ำแข็งละลายช้าที่สุด
- อธิบาย สรุปองค์ความรู้ได้จากการทดลอง
- นำความรู้ในการทดลองไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (ทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง ทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง และการทำวุ้นนม)

ทักษะการสื่อสาร
พูดอธิบายนำเสนอผลการทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
การจัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทดลองอย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะทำการทดลองต่างๆ ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบตกแต่งสรุปการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการทดลอง เช่น ไฟลุก น้ำที่ทดลองหก สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ทดแทนได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการค้นหารข้อมูลการทดลองต่างๆ
มีความพยายาม อดทนในการทดลองเพื่อหาคำตอบให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะทดลอง

4
1 - 5
มิ.ย.
58
โจทย์ น้ำ

Key Questions :
น้ำจะกลายเป็นรูปอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
 - ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของของเหลงทั้งสามชนิด
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการเกิดพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ
·  Round Robin
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลการทดลองการเกิดเมฆ ฝน
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในคลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
·  Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานสรุปการทดลองการแข็งและการเดือดของของเหลวแต่ละชนิด
  - ติดชิ้นงานชาร์ตความรู้การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
- ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   คลิป“การก่อตัวของเมฆก่อนเกิดฝน” และการทำฝนเทียม”
-   สื่อจริง อุปกรณ์ใช้ในการทดลองต่างๆ เช่น แก้วน้ำ น้ำแข็ง
-   คลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
-   แท็บเล็ต
-   ครูให้นักเรียนดูคลิป “การก่อตัวของเมฆก่อนเกิดฝน” และการทำฝนเทียม” ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง คิดว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง”
-   นักเรียนทดลองการเกิดเมฆ และฝน
เขียนสรุปการทดลอง (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)
- นักเรียนดูคลิป “พลังน้ำผลิตไฟฟ้าที่คลองลัดโพธิ์”
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม
- นักเรียนสังเกต ค้นหาสิ่งต่างๆ รอบตัวมีน้ำเป็นองค์ประกอบ เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ผลไม้ ฯลฯ
- ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของน้ำ 
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล เกี่ยวกับการเกิดเมฆฝน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์ เกี่ยวกับการระเหยของน้ำจากสิ่งต่างๆ รอบตัว

ชิ้นงาน
-   สรุปการทดลองการการเกิดฝนและเมฆ
-   ชาร์ตความรู้การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของน้ำ รวมถึงพลังงานที่ได้จากน้ำ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- อธิบาย สรุปองค์ความรู้ได้จากการทดลองและดูคลิป
ทักษะการสื่อสาร
พูดอธิบายนำเสนอผลการทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะ ICT
-  อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น สอบถามผู้รู้ อินเทอร์เน็ต
ทักษะการจัดการข้อมูล
การจัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทดลองอย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะทำการทดลองต่างๆ ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบตกแต่งสรุปการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการทดลอง เช่น ไฟลุก น้ำที่ทดลองหก สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ทดแทนได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการค้นหารข้อมูลการทดลองต่างๆ
มีความพยายาม อดทนในการทดลองเพื่อหาคำตอบให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะทดลอง

5
8 - 12
มิ.ย.
58
โจทย์ ดิน

Key Questions :
-     ดินสามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
-     นักเรียนจะทำอย่างไร เพื่อให้ดินเหนียวที่ปั้นไว้คงสภาพได้นานมากที่สุด คิดว่าเพราะอะไร?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
 - ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา
·  Round Robin
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่พบในดินแต่ละชนิด
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำเครื่องปั้นดินเผาของคนโบราณ
·   Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานการสังเกตลักษณะการอุ้มน้ำของดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน
- ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
·  ชักเย่อความคิด ถ้วยที่ทำจากดินกับพลาสติกอันไหนดีกว่ากัน เพราะเหตุใด

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิป “เครื่องปั้นดินเผา”
-     สื่อจริง ทดลองการอุ้มน้ำของดิน (ดินเหนียว ดินทราย ดินร่วน) ขวดน้ำพลาสติก สำลี ผ้า
-   ครูนำดินแต่ละประเภทมาให้นักเรียนสังเกต (ดินทราย ดินร่วน ดินทราย) ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ดินแต่ละชนิดประกอบด้วยอะไรบ้าง?”
-   ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในดินแต่ละชนิด
-   นักเรียนทดลองการอุ้มน้ำของดินแต่ละชนิด (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)
-    ดูคลิปวีดีโอ “เครื่องปั้นดินเผา” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง เครื่องปั้นดินเผามีวิธีการทำอย่างไรบ้าง?”
-   นักเรียนออกแบบและปั้นของใช้หรือของเล่นจากดินเหนียว
-   นักเรียนนำเครื่องปั้นของตนเองเผาไฟ
- ชักเย่อความคิด ถ้วยที่ทำจากดินกับพลาสติกอันไหนดีกว่ากัน เพราะเหตุใด
-   นักเรียนร่วมทดลองเอาสิ่งของที่ปั้นแล้วไปแช่น้ำดูแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง (นักเรียนตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   วิเคราะห์สิ่งที่พบในดินแต่ละชนิด
-   ทดลองและสรุปผลจากการทดลองการอุ้มน้ำของดินแต่ละชนิด
-   ออกแบบของเล่นของใช้และลงมือปั้น

ชิ้นงาน
-    เครื่องปั้นดิน
-    ใบงานสรุปการอุ้มน้ำของดินเหนียว ดินทรายและดินร่วน
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงและการแปรสภาพของดินหรือสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับดิน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
 - คิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการลงมือทำเครื่องปั้น
มีเป้าหมายและกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้ (การปั้นดินเหนียว)
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการปั้นสิ่งที่ตนเองต้องการ
สร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย
สามรถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาขณะที่ปั้น ทดลองการอุ้มน้ำของดิน
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ

คุณลักษณะ
-  เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
-  มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว  ชุมชน  และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
- มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง
6
15 - 19
มิ.ย.
58
โจทย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพของดิน

Key Questions :
-      การเปลี่ยนแปลงสภาพของดินส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตของเราอย่างไรบ้าง?
-     ปัจจัยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของดินในปัจจุบันนี้?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดดินโคลนถล่ม
·  Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินโคลน
·   Show and Share นำเสนอข้อมูลการเกิดดินโคลนถล่ม
·   Wall Thinking
-         ติดชิ้นงานชาร์ตความรู้ดินโคลนถล่ม
-         ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     บรรยากาศรอบๆ โรงเรียน
-     คลิป “ดินโคลนถล่ม”
-     แท็ปเล็ต
-     สื่อจริง ดินเหนียว
-   นักเรียนทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นโมบาย
-   นักเรียนดูคลิป “ดินโคลนถล่ม” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า ดินโคลนถล่มเกิดจากอะไรบ้าง มีวิธีแก้ไขอย่างไร?”
-   นักเรียนค้นหาข้อมูล สาเหตุดินโคลนถล่ม ทำชาร์ตความรู้และนำเสนองาน
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิดดินโคลนถล่ม
-   ค้นคว้าหาข้อมูลสาเหตุ และแนวทางแก้ปัญหา

ชิ้นงาน
-    โมบายเครื่องปั้นดินเผา
-    สรุปการเกิดดินโคลนถล่มและการป้องกัน
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพดิน รวมทั้งผลจากการเปลี่ยนแปลงหรือการแปรสภาพของดิน อีกทั้งนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
 - คิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการลงมือทำเครื่องปั้น
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการปั้นสิ่งที่ตนเองต้องการ และสามารถจำลองการแปลงแปลงสภาพของดิน (ดินโคลนถล่ม
สร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย
สามรถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาขณะที่ปั้น จำลองการแปลงแปลงสภาพของดิน
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ

คุณลักษณะ
-  เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
-  มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้หน้าที่ รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
7
22 - 26
มิ.ย.
58
 โจทย์ อากาศ/ลม

Key Questions :
-   อากาศ/ลมมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับเราบ้าง?
-   อากาศ/ลมสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรได้บ้างเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
-          ระดมความคิดเห็นร่วมกันวิธีการทดลอง
-          ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอากาศและลมเกี่ยวข้องกับเรา
-          ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองลูกโป่งรับน้ำหนัก
·  Round Robin
-          สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับส่วนประกอบของอากาศ
-          สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแรงดันอากาศและแรงดันลม
·  Wall Thinking
-          ติดชิ้นงานสรุปการทดลองอากาศและลม
-         ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     บริเวณโรงเรียน
-     สื่อจริง เทียน กระดาษ ลูกโป่งลูกปิงปอง หลอด ไม้ โคมลอย
-   กระดาษหนังสือพิมพ์
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “รอบๆ ตัวเราประกอบด้วยอะไรบ้าง?” ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
-   นักเรียนสังเกตอุปกรณ์การทดลอง
1. ลูกโป่ง
2.กระดาษตัดเป็นเกลียว เทียนไข ไฟแช็ค ดินสอ ดินน้ำมัน
3. ขวดน้ำเจาะรู น้ำ ถังน้ำ
4. แก้ว กระดาษ
- นักเรียนแบ่งกลุ่มทดลองอากาศและลมจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Jigsaw
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าอะไรบ้างที่ให้แรงดันอากาศในการเคลื่อนที่?”
-   นักเรียนทำโคมลอย
-   ครูเปิดคลิป “กังหันลมผลิตไฟฟ้า”
-   นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป “กังหันลมผลิตไฟฟ้า” และค้นหาข้อมูลประโยชน์จากพลังลม
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลูกโป่งรับน้ำหนักได้เพราะอะไร
-   ออกแบบและทดลองปล่อยโคมลอย
-   นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
-   ค้นหาข้อมูลการผลิตไฟฟ้าพลังลม

ชิ้นงาน
-    ชาร์ตความรู้การทดลองลูกโป่งรับน้ำหนัก และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-    โคมลอย
-    กังหันลมลูกปิงปอง
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงสภาพของอากาศ/ลม ปรากฏการที่เกิดจากอากาศ/ลมที่มีผลต่อตัวเราและสิ่งต่างๆ รอบๆตัว อีกทั้งประโยชน์จากอากาศ/ลม มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
คิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ เช่น แรงลม ลูกโป่งรับน้ำหนัก
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการที่ได้ดูคลิปวีดีโอและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำโคมลอย
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ (โคมลอยและกังหันลม)
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเองทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาขณะทำโคมลอย และกังหันลมได้

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
8
29-30
มิ.ย.
1-3
ก.ค.
58
โจทย์ แสง

Key Question :
แสงเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง และมีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง?

เครื่องมือคิด :
·   Brainstorms 
-          ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดแสง
-          ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดลองสมบัติของแสง
·   Round Robin
-          สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจุดไฟแบบต่างๆ
-          สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลการทดลองสมบัติของแสง
·   Web การจุดไฟด้วยวิธีต่างๆ
·   Wall Thinking
-          ติดชิ้นงานการ์ตูนช่องการเกิดไฟ
-          ติดชิ้นงานชาร์ตความรู้การทดลองการหักเหแสง
-           ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิป “การทำไม้ขีดไฟ”
-     สื่อจริง อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง เทียน ไฟฉาย
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “แสงเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง”
-   นักเรียนทดลองจุดไฟแบบโบราณ
-   นักเรียนทดลองสมบัติของแสง
(ทดลองการหักเหของ แก้วน้ำ 3 ใบ ใส่แก้วเล็กลงไป สังเกตการทดลองใบที่ 1 ไม่ใส่น้ำ ใบที่ 2 ใส่น้ำ ใบที่ 3  ใส่น้ำมัน)
-   นักเรียนทดลองการเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง ตัดกระดาษเป็นช่องให้แสงผ่าน
-   นักเรียนทดลองการเกิดเงา
-   ครูและนักเรียนสรุปการเรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแสงเกิดขึ้นได้อย่างไร
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจุดไฟ
-   วิเคราะห์ การเดินทางของแสง และการหักเห

ชิ้นงาน
-    Web การจุดไฟ
-    ชาร์ตความรู้การทดลองการหักเหและการเดินทางของแสง
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและอธิบายแหล่งกำเนิดแสง การเปลี่ยนแปลงของแสงที่เดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน รวมทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


ทักษะ :
ทักษะชีวิต
นำวัสดุง่ายๆ จุดไฟได้
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
นำเรื่องที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (เช่น การหักเหของแสง)
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทดลองการหักเหแสง

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการเปลี่ยนสถานะหักเห และการเดินทางของแสง

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
9
6 - 10
ก.ค.
58
โจทย์  พลังงานแสง

Key Question :
แสงเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปแบบอื่นได้อย่างไรบ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตเราอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
-         ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนพลังงานแสงเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่น (พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า)
-         ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองความร้อนจากแสงอาทิตย์
·  Round Robin
-         สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแสงเปลี่ยนเป็นความร้อน
-         สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์
·  Wall Thinking
-         ติดชิ้นงานการ์ตูนช่องประโยชน์จากแสงอาทิตย์
-         ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิป “การผลิตไรผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์”
-     สื่อจริง อุปกรณ์ทดลองแสงเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน เช่น ไม้ จานกระเบื้อง สังกะสี พลาสติก และไข่
-     สื่อจริง อุปกรณ์ทดลองแสงสี เช่น ถ้วย น้ำมัน น้ำยาล้างจาน แผ่นซีดี
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “แสงสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอะไรได้บ้าง?”
-   นักเรียนทดลองพลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน โดยใช้ตัวนำความร้อนที่ต่างกัน เช่น ไม้จานกระเบื้อง สังกะสี และพลาสติก (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)
-   นักเรียนดูคลิป “พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์”
-   นักเรียนเขียนสรุปประโยชน์จากแสงอาทิตย์เป็นการ์ตูนช่อง
-   นักเรียนทดลองแสงสีรุ้ง จากการฉีดละออกน้ำ เป่าฟองสบู่ น้ำมันพืช และแผ่นดี
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-    แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแสงสามารถเปลี่ยนเป็นอะไรได้บ้าง
-    แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแสงเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
-    วิเคราะห์ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า ประโยชน์จากแสงอาทิตย์

ชิ้นงาน
-    การ์ตูนช่องประโยชน์ที่ได้จากแสงอาทิตย์
-    สรุปผลการทดลองแสงสี
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและอธิบาย การเปลี่ยนจากแสงเป็นพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เชื่อมโยงเรื่องที่เรียนกับชีวิตประจำวันของเราได้ เช่น พลังงานแสงเป็นพลังงานความร้อน
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
นำเรื่องที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (เช่น การตากผ้า)
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทดลองพลังงานแสงอาทิตย์เป็นความร้อน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการเปลี่ยนสถานะหักเห และการเดินทางของแสง

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
10
13-17 ก.ค.
     58
โจทย์ เสียง

Key Question :
เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรได้บ้างเพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms 
 - ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไรเกี่ยวข้องเราอย่างไร
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากหลอดกาแฟ
·  Round Robin
  - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเกิดเสียงแต่ละแบบ
 - สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสะท้อนของเสียงในวัตถุแต่ละชนิด
·  Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานการ์ตูนช่องเสียงจากหลอด
 - ติดชิ้นงานสรุปการสะท้อนเสียง
 - ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
·  ชักเย่อความคิด เสียงเคลื่อนที่เร็วกว่าวัตถุจริงหรือ

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-     บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิปวีดีโอ
“ดนตรีจากเสียงในแก้วน้ำ”
“รถไฟกับเสียงหวูด” “เครื่องบินเร็วกว่าแสง”
-     หลอดกาแฟ
-     กล่องกระดาษ
-     ปี๊บ
-     ถังน้ำ
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง”
-   ครูเปิดคลิป “ดนตรีจากเสียงในแก้วน้ำ” ให้นักเรียนสังเกต
-   นักเรียนทำปี่จากหลอดกาแฟ
-   นักเรียนทดลองเสียงสะท้อนจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ถังน้ำ ปีบ กล่องกระดาษ นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลอง
-   ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิดเสียง
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงสะท้อน
-   วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงในชีวิตประจำวัน

ชิ้นงาน
-    การ์ตูนช่องปี่จากหลอดกาแฟ
-    สรุปเสียงสะท้อน
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและอธิบายแหล่งกำเนิดของเสียงและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเสียง รวมทั้งเสียงที่มีผลต่อตัวเราและสิ่งต่างๆ รอบๆตัว อีกทั้งนำประโยชน์จากเสียง มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- นำเรื่องที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (เช่น การสะท้อนของเสียง)
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการที่ได้ดูคลิปวีดีโอและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทดลองเสียงจากหลอดกาแฟ การสะท้อนเสียง
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ (ปี่จากหลอดกาแฟ)
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการเป่าปี่จากหลอดไม่มีเสียง

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
11
27-29 ก.ค.
58
โจทย์ สรุปองค์ความรู้หลังเรียน

Key Question :
นักเรียนจะนำเสนอเผยแพร่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งต่างๆให้ผู้อื่นเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดตลอด Quarter นี้
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่นำไปเผยแพร่ใน Quarter นี้
- Card and Chart  สิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม
- Show and Share นำเสนอเผยแพร่การเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
·  Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
 ติดชิ้นงานสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรพัฒนา
 -  ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
บรรยากาศในห้องเรียน
นักเรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อนำเสนอความจริงเกี่ยวกับหน่วย คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง มาจัดทำในรูปแบบที่น่าสนใจ (ชาร์ต ,ภาพวาด ,นิทานช่อง)และนำเสนอให้ครูเพื่อนและน้องๆได้รับฟัง
- นักเรียนเขียนสิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่ควรพัฒนาของตนเอง
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียนผ่านการจัดนิทรรศการหนังสือนิทานให้เพื่อนๆน้องๆได้ชม
แลกเปลี่ยนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
- สามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการหน่วย “คิดรู้ คิดดีกับการเปลี่ยนแปลง” ให้ผู้อื่นเข้าใจ ชี้ให้เห็นคุณค่า สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้และสามารถอธิบายการเกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา
- มีการวางแผนการนำเสนองานอย่างเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบกิจกรรมในการนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ละคร สรุปองค์ความรู้ให้ครูและคนอื่นๆฟังได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- จัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนการนำเสนอกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ทั้ง Quarter อย่างเป็นระบบและเหมาะสม
- คิดวิเคราะห์เรียนรู้ โดยมีความสนใจในกิจกรรมและสามารถวางแผนการนำเสนอความรู้ได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
                                สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากรู้
                       หน่วย “คิดรู้ คิดดีกับการเปลี่ยนแปลง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
-        ไฟร้อน
-        น้ำแข็งอยู่ในตู้เย็นไม่ละลาย
-        ของเหลวโดนน้ำแข็งจะแข็ง
-        วิธีจุดไฟโดยไม่ใช้ไม้ขีดคือใช้หินหรือไม้
-        ไอศกรีมเอาไปใส่ในน้ำแข็งจะแข็ง
-        ลูกโป่งเป่าลมจะพอง
-        ผีเสื้อออกไข่แล้วเป็นหนอน
-        อยู่ในร่มแล้วจะเย็น
-        ลมพัดจะเย็น
-        ต้นไม้ให้ออกซิเจนกับเรา
-        โค๊กมีแก๊ส
-        ลมเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
-        ดินเหนียวเอามาปั้นได้
-        แสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้
-        ถ้าถือไอศกรีมนานๆ จะละลาย
-        น้ำระเหยเป็นไอน้ำ
-        โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
-        คนสมัยก่อนสร้างบ้านหรืออยู่ในถ้ำ
-        ทำไมดินโดนน้ำจึงเหนียว
-        ทำไมแสงแดดถึงร้อน
-        ทำไมไอศกรีมถึงแข็ง
-        แสงแดดทำให้ต้นไม้แห้งได้อย่างไร
-        ทำไมสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้
-        จะทำอย่างไรให้น้ำแข็งละลายช้า
-        อะไรเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้บ้าง
-        จรวดกระดาษร่อนได้อย่างไร
-        เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร
-        ทำไมเราเขย่าขวดโค๊กแล้วเปิดมีเสียงเปิดฟู่
-        ทำไมดินเหนียวจึงเหนียวติดกัน
-        ทำไมอากาศมองไม่เห็น
-        ก้อนเมฆเกิดได้อย่างไร
-        ทำไมแสงอาทิตย์ถึงร้อน
-        ทำไมผีเสื้อไม่ออกลูกเป็นตัว
-        ทำไมดินน้ำมันถึงนุ่ม
-        รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร



  ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย “คิดรู้ คิดดี กับกรเปลี่ยนแปลง”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2558 (Quarter 1)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
สร้างฉันทะ
- สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว  
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping
ก่อนเรียน

มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่จะศึกษาตามความสนใจ (ว 8.1  ป.3/1)
- วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  โดยใช้ความคิดของตนเอง กลุ่ม และจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน (ว 8.1 ป3/2)
- สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข
(ว 8.1ป.3/5)
- เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นนำเสนอและรวบรวมข้อมูลให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ (ว 8.13/6)
- นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา สิ่งที่อยากเรียนรู้ปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 3/8)
มาตรฐาน ส 1.1
- เห็นคูณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากบุคคลสำคัญ
 (ส 1.1 ป.4/3)
- แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยหรือศาสนาที่ตนนับถือ
(ส1.13/5)


มาตรฐาน ง1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม
(ง 1.1  ป 3/1)
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
(ง 1.1 ป3/2)
-  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง  1.1  3/3)
มาตรฐาน ง 2.1
- เลือกใช้สิ่งของในชั้นเรียนได้อย่างสร้างสรรค์กับชิ้นงานที่ทำ
(2.13/3)
มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
(พ 2.1 ป 3/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้อุปกรณ์อย่างมีทิศทาง
 (พ 3.1 ป3/1)
- ควบคุมตัวเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้และใช้อุปกรณ์ประกอบ
(พ 3.1 4/1)
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
(ศ 1.1 ป3/4)
- วาดภาพถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว
(ศ 1.1 ป3/6)

มาตรฐาน ส4.1
แสดงลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียน ชุมชน โดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(ส4.13/2)

มาตรฐาน ส 2.1
- บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย
(2.1 3/2)
- เข้าใจและอธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในท้องถิ่นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง (ส2.14/4)
แสดงออกถึงมารยาทไทยได้ตามเหมาะสมกับกาลเทศะ (ส 2.1 6/3)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุหน้าบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส 2.23/1)
น้ำและของเหลว
- แหล่งกำเนิด
- สมบัติของน้ำ
- การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ
-ประโยชน์และโทษของน้ำ

มาตรฐาน ว 2.1
สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนและอธิบายความสัมพันธ์ของน้ำ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
(ว 2.1 3/1)
มาตรฐาน ว 3.1
-เข้าใจและอธิบายการจำแนกสมบัติของน้ำ ( ว 3.1 3/1)
- ทดลองและอธิบายสมบัติของน้ำเกี่ยวกับความยืดหยุ่น ความแข็ง การนำความร้อน การนำไฟฟ้าและความความหนาแน่น (ว 3.1 5/1 )
มาตรฐาน ว 3.2
- ทดลองและอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับน้ำเมื่อถูกกระทำให้ร้อนขึ้นหรือทำให้เย็นลง (ว3.2 3/1)
- อภิปรายประโยชน์และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำ (ว 3.2 3/2)
มาตรฐาน ว 6.1
สำรวจและอธิบายสมบัติทางกายภาพของน้ำจากแหล่งน้ำในท้องถิ่นและนำความรู้ใช้ประโยชน์ (ว 6.1 3/1)
มาตรฐาน ว 8.1
บันทึกข้อมูลเปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้แล้วนำเสนอข้อสรุป (ว 8.13/4)
มาตรฐาน ส 1.1
วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างและนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเอง
( ส1.1ป.ม1/11)
มาตรฐาน ส 1.2
- ปฏิบัติตนและแสดงตนเป็นพุทธมามกะหรือเป็นศาสนิกชนที่ดี
( ส 1.2 3/3 )
มาตรฐาน ส 4.2
ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน
(ส 4.2 3/1)
มาตรฐาน ง1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม
(ง 1.1  ป 3/1)
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
(ง 1.1 ป3/2)
-  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง  1.1  3/3)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ
(ง 3.1 3/1)
- บอกวิธีดูแลและรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้
(ง 3.1 3/2)

มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( พ 2.1 ป 3/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้อุปกรณ์อย่างมีทิศทาง
 (พ 3.1 ป3/1)
- ควบคุมตัวเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้และใช้อุปกรณ์ประกอบ
(พ 3.1 4/1)
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัว
(ศ 1.1 ป3/4)
- วาดภาพถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว (ศ 1.1 ป3/6)
- วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี
(พ 1.1 5/3)

มาตรฐาน ส4.1
- แสดงลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียน ชุมชน โดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(ส4.13/2)
- อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติของมนุษยชาติโดยสังเขป
(ส 4.1 4/2)
มาตรฐาน ส 4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้
(ส 4.35/4)

มาตรฐาน ส 2.1
- บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย
(2.1 3/2)
- เข้าใจและอธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในท้องถิ่น (ส 2.14/4)
- เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน
(ส 2.1 4/5)
แสดงออกถึงมารยาทไทยได้ตามเหมาะสมกับกาลเทศะ
(ส 2.1 6/3)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุหน้าบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส 2.23/1)


ดิน
- แหล่งกำเนิด
- ประโยชน์และโทษของดิน
- สถานะของดิน
- สมบัติของดิน
- การเปลี่ยนแปลงสถานะของดิน
มาตรฐาน ว 2.1
สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (ว 2.1 3/1)
มาตรฐาน ว 3.1
- เข้าใจและอธิบายการจำแนกสมบัติของดิน
( ว 3.1 3/1)
- ทดลองและอธิบายสมบัติของดินเกี่ยวกับความยืดหยุ่น ความแข็ง การนำความร้อนและความความหนาแน่น
(ว 3.1 5/1 )
มาตรฐาน ว 3.2
อภิปรายประโยชน์ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของดิน (ว 3.2 3/2)

มาตรฐาน ว 6.1
สำรวจและอธิบายสมบัติทางกายภาพของดินในท้องถิ่นและนำความรู้ใช้ ประโยชน์ (ว 6.1 3/1)
มาตรฐาน ว 8.1
บันทึกข้อมูล เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้แล้ว นำเสนอข้อสรุป
( ว 8.13/4)
มาตรฐาน ส 4.2
- ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน
(ส 4.2 3/1)
- สรุปลักษณะที่สำคัญของประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน
(ส 4.2 3/3)
มาตรฐาน ง1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม (ง 1.1  ป 3/1)
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
(ง 1.1 ป3/2)
-  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง  1.1  3/3)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ(ง 3.1 3/1)
- บอกวิธีดูแลและรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้(ง 3.1 3/2)

มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( พ 2.1 ป 3/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้อุปกรณ์อย่างมีทิศทาง
 (พ 3.1 ป3/1)
- ควบคุมตัวเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้และใช้อุปกรณ์ประกอบ
(พ 3.1 4/1)
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัว
(ศ 1.1 ป3/4)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานปั้น (ศ 1.1 3/5)
- วาดภาพถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว (ศ 1.1 ป3/6)
- วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี (ศ 1.1 5/3)

มาตรฐาน ส4.1
- แสดงลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียน ชุมชน โดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(ส4.13/2)
- อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติการใช้วัสดุเครื่องปั้นดินเผาของมนุษยชาติโดยสังเขป
(ส 4.1 4/2)
มาตรฐาน ส 4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้
(ส 4.35/4)


มาตรฐาน ส 2.1
- บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย
(2.1 3/2)
- เข้าใจและอธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในท้องถิ่น (ส 2.14/4)
- เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน
(ส 2.1 4/5)
แสดงออกถึงมารยาทไทยได้ตามเหมาะสมกับกาลเทศะ
(ส 2.1 6/3)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุหน้าบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส 2.23/1)


ลม/อากาศ
- แหล่งกำเนิด
- การเปลี่ยนแปลงลม/อากาศ
- ประโยชน์และโทษของดิน
มาตรฐาน ว 3.1
จำแนกสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้ในการทดลอง อธิบายประโยชน์ของวัสดุแต่ละชนิด (ว 3.13/1-2)
มาตรฐาน ว 3.2
ทดลองและอธิบายผลการทดลองที่เกิดขึ้นหลังจากวัสดุถูกความร้อนและความเย็น พร้อมทั้งอธิบายประโยชน์และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและลม
(ว 3.2 3/1-2)
มาตรฐาน ว 4.1
-    ทดลองการตกของวัตถุลงสู่พื้นด้วยแรงดึงดูด
(ว 4.1 3/1-2)
มาตรฐาน ว 5.1
-    บอกแหล่งที่มาของการผลิตไฟฟ้าจากลม รวมทั้งการนำเสนอการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
(ว 5.1 ป.3/1-2)
-    ทดลองและอธิบายความดันอากาศ
(ว 5.1 5/2)
มาตรฐาน ว 6.1
-    ทดลองการเคลื่อนที่ของอากาศที่มีผลจากความแตกต่างของอุณหภูมิ
(ว 6.1 ป.3/1)
-    สืบค้นข้อมูลอธิบายส่วนประกอบของอากาศและความสำคัญของอากาศ
(ว 6.1 ป.3/2)
-    มาตรฐาน ว 8.1
ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่จะศึกษาตามความสนใจ วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน เลือกอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการทดลอง สำรวจ ตรวจสอบ บันทึกผล จัดกลุ่มเปรียบเทียบข้อมูล สิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้ สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข แสดงความคิดเห็นนำเสนอและรวบรวมข้อมูลให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.3/1-8)
มาตรฐาน ส 1.2
- ปฏิบัติตนและแสดงตนเป็นพุทธมามกะหรือเป็นศาสนิกชนที่ดี
( ส 1.2 3/3 )
มาตรฐาน ส 4.2
- ระบุปัจจัย (สภาพอากาศและลม) มีอิทธิพลต่อถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน (ส 4.2 3/1)
- สรุปสภาพอากาศและลมที่สำคัญของประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน
(ส 4.2 3/3)
มาตรฐาน ง 1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม (ง 1.1  ป 3/1)
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
(ง 1.1 ป3/2)
-  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง1.1 3/3)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ(ง 3.1 3/1)
- บอกวิธีดูแลและรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้
(ง 3.1 3/2)

มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( พ 2.1 ป 3/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้อุปกรณ์อย่างมีทิศทาง
 (พ 3.1 ป.3/1)
- ควบคุมตัวเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้และใช้อุปกรณ์ประกอบ
(พ 3.1 4/1)
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัว
(ศ 1.1 ป3/4)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์ชิ้นงาน (ศ 1.1 3/5)
- วาดภาพถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว (ศ 1.1 ป3/6)
- วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี  ศ 1.1 5/3)

มาตรฐาน ส4.1
- แสดงลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียน ชุมชน โดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(ส4.13/2)
มาตรฐาน ส 4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องการประดิษฐ์ของใช้เกี่ยวกับอากาศและลมชีวิตประจำวันที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้
(ส 4.35/4)


มาตรฐาน ส 2.1
- ยกตัวอย่างบุคคลที่มีความสำคัญทำประโยชน์ต่อชุมชนและท้องถิ่นของตน (ส 2.1 ป.3/4)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุหน้าบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส 2.2 ป.3/1)


แสง
- แหล่งกำเนิด
- สมบัติของแสง
- การเปลี่ยนแปลงแสงเป็นพลังงานอื่น (ความร้อน ไฟฟ้า ฯลฯ)
- ประโยชน์และโทษของแสง

มาตรฐาน 3.2
ทดลองและอธิบายผลการทดลองที่เกิดขึ้นหลังจากวัสดุถูกความร้อนจากแสง พร้อมทั้งอธิบายประโยชน์และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนจากแสงเป็นพลังงานอื่น
(ว 3.2 3/1-2)
มาตรฐาน ว 5.1
-   บอกแหล่งที่มาของการผลิตไฟฟ้าจากแสง
อาทิตย์ รวมทั้งการนำเสนอการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
(ว 5.1 ป.3/1-2)
-   ทดลองและอธิบายแสงตกกระทบวัตถุ จำแนกการมองเห็น แสงจากแหล่งกำเนิดแสง ทดลองและอธิบายการหักแหของแสงผ่านตัวกลางต่างๆ
(ว 5.1 ป.4/1-3)
มาตรฐาน ว 6.1
สืบค้นข้อมูลอธิบายส่วนประกอบของแสงและความสำคัญของแสง
(ว 6.1 ป.3/2)
มาตรฐาน ว 8.1
ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่จะศึกษาตามความสนใจ วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน เลือกอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการทดลอง สำรวจ ตรวจสอบ บันทึกผล จัดกลุ่มเปรียบเทียบข้อมูล สิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้ สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข แสดงความคิดเห็นนำเสนอและรวบรวมข้อมูลให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.3/1-8)
มาตรฐาน ส 1.1
วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างและนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเอง
( ส1.11/11)
มาตรฐาน ส 4.2
ระบุปัจจัยแสงมีอิทธิพลต่อถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน (ส 4.2 3/1)

มาตรฐาน ง 1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม
(ง 1.1  ป 3/1)
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
(ง 1.1 ป3/2)
-  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง  1.1  3/3)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ (ง 3.1 3/1)
- บอกวิธีดูแลและรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้
(ง 3.1 3/2)

มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( พ 2.1 ป 3/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้อุปกรณ์อย่างมีทิศทาง
 (พ 3.1 ป.3/1)
- ควบคุมตัวเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้และใช้อุปกรณ์ประกอบ
(พ 3.1 4/1)
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัว
(ศ 1.1 ป3/4)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานชิ้นงาน
(ศ 1.1 3/5)
- วาดภาพถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว
(ศ 1.1 ป3/6)
- วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี ( ศ 1.1 5/3)

มาตรฐาน ส4.1
- แสดงลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียน ชุมชน โดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(ส4.13/2)
- อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติการใช้วัสดุเครื่องปั้นดินเผาของมนุษยชาติโดยสังเขป
(ส 4.1 4/2)
มาตรฐาน ส 4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องการประดิษฐ์ของใช้เกี่ยวกับอากาศและลมชีวิตประจำวันที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้
 (ส 4.35/4)


มาตรฐาน ส 2.1
- ยกตัวอย่างบุคคลที่มีความสำคัญทำประโยชน์ต่อชุมชนและท้องถิ่นของตน
(ส 2.1 ป.3/4)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุหน้าบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส 2.2 ป.3/1)


เสียง
- แหล่งกำเนิด
- การเปลี่ยนแปลงชองเสียง
- ประโยชน์และโทษของเสียง

มาตรฐาน 3.2
ทดลองและอธิบายผลการทดลองแหล่งกำเนิดเสียง  พร้อมทั้งอธิบายประโยชน์และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนจากมลพิษทางเสียง
(ว 3.2 3/1-2)
มาตรฐาน ว 5.1
ทดลองและอธิบาย การเกิดเสียงและการเคลื่อนที่ของเสียง เสียงสูง ต่ำ
แหล่งที่มาของการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รวมทั้งการนำเสนอการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอด
ภัย (ว 5.1 ป.3/1-2)
มาตรฐาน ว 6.1
สืบค้นข้อมูลอธิบายส่วนประกอบของแสงและความสำคัญของแสง
 (ว 6.1 ป.3/2)
มาตรฐาน ว 8.1
ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่จะศึกษาตามความสนใจ วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน เลือกอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการทดลอง สำรวจ ตรวจสอบ บันทึกผล จัดกลุ่มเปรียบเทียบข้อมูล สิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้ สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข แสดงความคิดเห็นนำเสนอและรวบรวมข้อมูลให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.3/1-8)
มาตรฐาน ส 1.1
วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างและนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเอง (ส1.11/11)
มาตรฐาน ส 4.2
ระบุปัจจัยแสงมีอิทธิพลต่อถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน (ส 4.2 3/1)

มาตรฐาน ง 1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม (ง 1.1  ป 3/1)
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
(ง 1.1 ป3/2)
-  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง  1.1  3/3)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ (ง 3.1 3/1)
- บอกวิธีดูแลและรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้
(ง 3.1 3/2)

มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( พ 2.1 ป 3/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้อุปกรณ์อย่างมีทิศทาง
 (พ 3.1 ป.3/1)
- ควบคุมตัวเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้และใช้อุปกรณ์ประกอบ
(พ 3.1 4/1)
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัว
(ศ 1.1 ป3/4)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานปั้น
(ศ 1.1 3/5)
- วาดภาพถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว
(ศ 1.1 ป3/6)
- วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี
( ศ 1.1 5/3)

มาตรฐาน ส4.1
- แสดงลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียน ชุมชน โดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(ส4.13/2)
- อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติการใช้วัสดุเครื่องปั้นดินเผาของมนุษยชาติโดยสังเขป
(ส 4.1 4/2)
มาตรฐาน ส 4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงหรือพลังงานแสงในชีวิตประจำวันที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้
(ส 4.35/4)


มาตรฐาน ส 2.1
- ยกตัวอย่างบุคคลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการนำแสงมาใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและท้องถิ่นของตน
 (ส 2.1 ป.3/4)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุหน้าบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส 2.2 ป.3/1)


สรุปองค์ความรู้
- ตอบคำถามสิ่งที่อยากรู้
- สิ่งที่ดีแล้ว
- สิ่งที่ควรพัฒนา
- Mind mapping
หลังเรียน
มาตรฐาน ว 2.2
- อภิปรายและนำเสนอการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่าและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
(ว 2.2 .3/3)
- วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทั้งต่อโลก สังคม ชุมชนและตัวเราเอง (ว 2.2 ป.6/2 )
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นหรือเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ  (ว 8.1 ป3/1 )
- นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจ (ว 8.1 ป3/8)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและสรุปสิ่งที่เรียนรู้ได้
(ว 8.1 ป.6/6 )

มาตรฐาน ส 1.1
เข้าใจและชื่นชมแบบอย่างที่ดีในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนขณะร่วมกิจกรรมและอยู่ร่วมกัน
 (ส 1.1 .3/3)
มาตรฐาน ส 3.1
- เข้าใจและสามารถจำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้วัสดุต่างๆในการดำรงชีวิต (ส 3.1 3/1)
- อธิบายได้ว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวเรามีการเปลี่ยนแปลง และมีผลต่อเรา รวมทั้งเราสามารถอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงได้
(ส 3.1 3/3)
- ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่างๆในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน (ส 3.1 ป5/2)
- บอกวิธีและประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ รอบๆตัว
(ส 3.1 ป6/3)
มาตรฐาน ส 5.2
- วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากรในภูมิภาค
(ส 5.2 ป5/1)
- นำเสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากเปลี่ยนแปลง การรักษาและการทำลายสภาพแวดล้อมเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
(5.2 ป5/3)

มาตรฐาน ง1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม (ง 1.1  ป.3/1)
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน
(ง 1.1 ป.3/2)
-  ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง  1.1  . 3/3)
ทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนด้วยความขยัน อดทน รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ (ง 1.14/2)
มาตรฐาน ง 2.1
- นำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงาน และถ่ายทอดความคิด  รายงานผลเพื่อนำเสนอวิธีการ (2.1 .5 /3)
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของตนเอง
(2.1 .5 /4)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ
(ง 3.1 3/1)
- บอกวิธีดูแลและรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้
(ง 3.1 3/2)
- ค้นหา รวบรวมข้อมูลที่สนใจและเป็นประโยชน์จากแหล่งต่างๆที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์
(3.1 .5 /1 )
มาตรฐาน พ 2.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อน (พ 2.1.3/2)
- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมของตนตาวัฒนธรรมไทย
(พ 2.1 .4/2)
- เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีน้ำใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น (2.16/1)
มาตรฐาน พ 3.1
- สามารถใช้ทักษะการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางบทบาทสมมุติเพื่อสื่อสาร หรือถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (พ3.15/1)

มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพ ระบายสีสิ่งของเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ที่ทำ
(1.1 .3/4)
- อธิบายลักษณะรูปร่าง รูปทรงในการออกแบบสิ่งต่างๆที่มีในโรงเรียน
(1.1 .3/10)
มาตรฐาน ส 4.1
- แยกแยะประเภทของพลังงานที่สามารถเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าตามหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาตามแต่ละท้องถิ่น (ส 4.1 .4/3)
- สืบค้นความเป็นมาของพลังงานไฟฟ้าในท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย     
(4.1 .5/1)
- รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ต่างๆอย่างมีเหตุผล (4.1.5/2)
มาตรฐาน ส 2.1
- เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน
(ส 2.1 .4/5)
แสดงออกถึงมารยาทไทยได้ตามเหมาะสมกับกาลเทศะ
(ส 2.1 6/3)
มาตรฐาน ส 2.2
ระบุหน้าบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส 2.23/1)