เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

week1


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเกิดความใคร่รู้อยากเรียนรู้ “การเปลี่ยนแปลง” อีกทั้งนักเรียนสามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
14-15
..
58
















โจทย์ สร้างฉันทะ/สร้างแรงบันดาลใจ

Key Question :
นักเรียนคิดว่าทำไมโลกนี้ถึงมีการเปลี่ยนแปลง?

เครื่องมือคิด :
·     Brainstorms 
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของก้อนน้ำแข็ง
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการทำไอศกรีม
·     Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยววิธีการทำไอศกรีม
·     Placemats การเปลี่ยนรูปของน้ำแข็ง (เปลี่ยนสถานะ)
·    Wall Thinking 
    - ติดชิ้นงานสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสังเกตก้อนน้ำแข็ง
    - ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
-      บรรยากาศในชั้นเรียน
-        สื่อจริงอุปกรณ์ทำไอศกรีม เช่น น้ำแข็ง นม เกลือ

วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูให้นักเรียนสังเกตก้อนน้ำแข็ง
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและคิดว่าก้อนน้ำแข็งจะเป็นอย่างไรถ้าวางทิ้งไว้นานๆ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นและคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับก้อนน้ำแข็ง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-   “ในชีวิตประจำวันนักเรียนเห็นอะไรบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงจากแบบหนึ่งเป็นอีกแบบ?”
-   “นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง
ชง :
-      ครูนำอุปกรณ์และวัตถุดิบทำไอศกรีมนมมาให้นักเรียนสังเกต
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าจากอุปกรณ์และวัตถุดิบเหล่านี้ สามารถทำให้นมเปลี่ยนสถานะได้หรือไม่ อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้นมเปลี่ยนสถานะ (ตั้งสมมุติฐาน)
ใช้ :
-      นักเรียนทำไอศกรีมนม
-      นักเรียนสรุปผลการทดลอง
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมา พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการวางก้อนน้ำแข็งไว้นานๆ
-   วิเคราะห์ และสรุปว่าเพราะเหตุใดนมจึงกลายเป็นน้ำแข็งได้

ชิ้นงาน
-   ไอศกรีมนม
-   สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสังเกตก้อนน้ำแข็ง
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-   เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-   สามารถใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำไอศกรีมได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทดลองการเปลี่ยนสถานะของแข็งและการทำไอศกรีมนม
 - คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ (ทำไอศกรีมนม)
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการเปลี่ยนสถานะของน้ำแข็งและการทำไอศกรีมนม

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ

 
กิจกรรม 












 ชิ้นงาน










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์แรกของการเรียนรู้ PBL พี่ๆป.3 สงสัยว่าคุณครูจะพาเรียนรู้เรื่องอะไร โดยวันแรกของการเปิดเรียนพี่ๆ ให้ความสนใจกับบอร์ดที่คุณครูได้จัดไว้ บ้างก็บอกว่าต้องได้เรียนรู้เรื่องหนอนไหม บ้างก็บอกเรื่องไอศกรีม บ้างก็บอกว่าต้องการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง คุณครูจึงให้การบ้านวันพฤหัสบดีให้นำนมเปรี้ยวมา เมื่อถึงวันศุกร์ครูตั้งคำถามกับพี่ๆ จะเปลี่ยนของเหลวให้กลายเป็นของแข็งได้อย่างไร ถ้ามีน้ำแข็ง เกลือ พี่ๆ บอกว่า นำไปแช่ช่องแข็งของตู้เย็น บางคนบอกว่าเคยทำไอศกรีมวิธีเขย่าใส่ถุง ใส่เกลือในน้ำแข็ง ครูจึงถามว่า ทำไมใส่เกลือแล้วกลายเป็นของเหลวจึงกลายเป็นของแข็ง
    พี่ต้นกล้า “เพราะจะทำให้น้ำแข็งเย็นมาขึ้น และนมจะกลายเป็นน้ำแข็งครับ” เพื่อนคนอื่นๆ เห็นด้วย หลังจากนั้นครูให้นักเรียนทดลองทำไอศกรีมนม โดยวิธีเขย่า พี่บางคนได้ไอศกรีมนม บางคนเขย่าแรงจนถุงแตก แต่บางคนก็เขย่าเบาไม่เป็นน้ำแข็ง จากนั้นนักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ของตนเองจากความรู้ที่ได้เรียนรู้มาในสัปดาห์นี้

    ตอบลบ