เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงสภาพของอากาศและลม ปรากฏการณ์ที่เกิดจากอากาศและลมที่มีผลต่อตัวเราและสิ่งต่างๆ รอบตัว อีกทั้งสามารถนำประโยชน์จากอากาศและลมไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถแนะนำให้กับผู้อื่นได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
7
22 - 26
มิ.ย.
58
โจทย์ อากาศ/ลม

Key Questions :
-   อากาศและลมมีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง?
-   อากาศและลมสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้างเพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด :
·     Brainstorms 
-      ระดมความคิดเห็นร่วมกันวิธีทำให้ลูกโป่งพอง
-      ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอากาศและลมเกี่ยวข้องกับเรา
-      ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองลูกโป่งรับน้ำหนัก
·     Round Robin
-      สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับส่วนประกอบของอากาศ
-      สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแรงดันอากาศและแรงดันลม
·      Web สรุปการทดลองลูกโป่งรับน้ำหนัก และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
·      Wall Thinking
-      ติดชิ้นงานสรุปการทดลองอากาศและลม
-     ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   บริเวณโรงเรียน
-   สื่อจริง เทียน กระดาษ ลูกโป่งลูกปิงปอง หลอด ไม้ โคมลอย
-   กระดาษหนังสือพิมพ์
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “รอบๆ ตัวเราประกอบด้วยอะไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-   “ถ้าไม่มีอากาศและลมจะเกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร?”
-   “นักเรียนคิดว่าในอากาศมีอะไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประกอบของอากาศ
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตอุปกรณ์ต่างๆ
1. ลูกโป่ง
2.กระดาษตัดเป็นเกลียว เทียนไข ไฟแช็ค ดินสอ ดินน้ำมัน
3. ขวดน้ำเจาะรู น้ำ ถังน้ำ
4. แก้ว กระดาษ
พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “อุปกรณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับอากาศอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ครูนำมากับอากาศ
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่มทดลองอากาศและลมจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Jigsaw และเขียนชาร์ตสรุปผลการทดลองพร้อมทั้งนำเสนอให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆ ได้ร่วมเรียนรู้
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเจอเหตุการณ์อะไรบ้างที่คล้ายกับการทดลองที่ตนเองและเพื่อนๆ นำเสนอ และจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พบเจอคล้ายกับการทดลอง และการนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
การบ้าน นักเรียนนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาในวันอังคาร

วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-      ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าอากาศเคลื่อนที่ได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอากาศ
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบโคมลอยให้เคลื่อนที่ได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการประดิษฐ์โคมลอย
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนประดิษฐ์โคมลอยและทดลองปล่อยโคม

วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง : 
-   ครูเปิดคลิป “กังหันลมผลิตไฟฟ้า” ให้นักเรียนสังเกต
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ไฟฟ้าเกิดจากลมได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตกังหันลมไฟฟ้า
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่มออกแบบและประดิษฐ์กังหันลมจากลูกปิงปอง
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลูกโป่งรับน้ำหนักได้เพราะอะไร
-   ออกแบบและทดลองปล่อยโคมลอย
-   นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
-   ค้นหาข้อมูลการผลิตไฟฟ้าพลังลม

ชิ้นงาน
-    ชาร์ตความรู้การทดลองลูกโป่งรับน้ำหนัก และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-    โคมลอย
-    กังหันลมลูกปิงปอง
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงสภาพของอากาศ/ลม ปรากฏการที่เกิดจากอากาศ/ลมที่มีผลต่อตัวเราและสิ่งต่างๆ รอบๆตัว อีกทั้งประโยชน์จากอากาศ/ลม มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
คิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ เช่น แรงลม ลูกโป่งรับน้ำหนัก
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 - คิดวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการที่ได้ดูคลิปวีดีโอและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำโคมลอย
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ (โคมลอยและกังหันลม)
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเองทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาขณะทำโคมลอย และกังหันลมได้

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เคารพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ


กิจกรรม  


















ชิ้นงาน











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 7 พี่ป.3 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของอากาศ ครูเริ่มต้นด้วยคำถามกระตุ้นการคิด “อากาศและลมมีอยู่ที่ไหนบ้าง และมีอะไรเป็นองค์ประกอบในอากาศและลม พี่ๆ สามารถบอกได้ว่าอากาศมีอยู่รอบๆ ตัวเรา พี่ต้นกล้า “มีออกซิเจนครับ” พี่โอ๊ต”มีฝุ่นครับ” คนอื่นๆ ช่วยกันตอบสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในอากาศและลม จากนั้นครูให้สังเกตอุปกรณ์ในการทดลอง และแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทดลอง อากาศมีผลต่อการไหลเข้าและออกของน้ำในขวด กลุ่ม 2 ทดลองเป่าลูกโป่งรับน้ำหนักของหนังสือ กลุ่ม 3 ทดลองอากาศมีผลต่อกระดาษไม่หล่นจากแก้วน้ำเมื่อคว่ำขวด และกลุ่ม 4 ทดลองอากาศร้อนทำให้กระดาษหมุนรอบแกนดินสอ เมื่อแต่ละกลุ่มทดลองเรียบร้อยและสรุปการทดลองของตนเองเสร็จ นำมานำเสนอให้แต่ละกลุ่มได้ดู เพื่อนๆ แต่ละกลุ่มตื่นเต้นกับการทดลองของแต่ละกลุ่ม เมื่อทุกกลุ่มนำเสนอแล้ว ครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการคิด คิดว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในวันนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับเราบ้าง พี่เปรม “ลูกโป่งรับน้ำหนักเหมือนล้อรถครับ รับน้ำหนักได้เยอะ” พี่ฟีฟ่า “หนูว่ากระดาษหมุนรอบแกน เหมือนโคมที่ลอยได้ค่ะ ให้ควันและลมร้อนๆ ทำให้ขึ้นไปบนฟ้า” จากนั้นครูให้การบ้านนักเรียนนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาในวันอังคาร
    วันอังคาร ครูทบทวนกิจกรรมเมื่อวานนี้ และตั้งคำถามกระตุ้นการคิด จากกิจกรรมเมื่อวานนี้ นักคิดว่ากระดาษหนังสือพิมพ์น่าจะทำอะไรได้บ้าง พี่ๆ ช่วยกันคิด บางคนบอกว่านำมาจุดไฟ บางคนบอกว่า นำมาทำให้ไม่เปียก ครูจึงเพิ่มอุปกรณ์ให้สังเกต คือลวด และไส้สำหรับจุดโคม พี่ๆ ตอบพร้อมกันว่าทำโคมลอยแน่เลย ครูและพี่ๆ สนทนากันเกี่ยวกับวิธีการทำโคมลอย และลงมือทำ วันนี้ยังไม่ได้ทดลองลอย วันพุธซึ่งมีเวลาว่าง พี่ๆ ได้นำโคมที่ทำเสร็จทดลอยปล่อย ปรากฏว่าโคมไม่ขึ้นเลย ครูและพี่ๆ จึงมาทบทวนว่าเป็นเพราะอะไรบ้าง พี่ออม “โคมมีรอยขาดค่ะ” พี่บิว “ผมว่าหนักครับ” บางคนบอกว่าเชื้อเพลิงน้อย หลังจากนั้นครูให้พี่ๆ ลองกลับไปทำที่บ้าน พี่ก้องบอกว่า “ต้องใช้กระดาษแก้วครับ”
    วันศุกร์ ครูเริ่มต้นด้วยการเปิดคลิปกังหันลมให้พี่ๆ สังเกตว่าคืออะไร จากนั้นตั้งคำถามกังหันลม มีประโยชน์อย่างไรบ้าง พี่ๆ บอกว่าใช้เป็นที่ผลิตไฟฟ้าครับเคยเห็น จากนั้นครูเป็นคลิปวีดีโอต่อ เรื่องการกำเนิดไฟฟ้าจากกังหันลม พี่ๆ ช่วยกันอธิบายการเกิดไฟฟ้าจากลม หลังจากนั้นพี่ๆ ได้ทดลองการปล่อยโคมลอยจากที่ได้ทำเป็นการบ้า โดยบางคนซื้อมา คุณครูเลือกของคนที่ทำเองมาทดลองปล่อย และที่ซื้อมาหนึ่งคน จากนั้นสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยกัน โดยคนที่ทำมามีของพี่แพรวาที่ลอยขึ้น เนื่องจากใช้กระดาษที่เบา และเชื้อเพลิงพอเหมาะ ส่วนของพี่บิวใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ ใช้เทียนเป็นเชื้อเพลิงทำให้ไม่ขึ้น พี่ต้นกล้าใช้กระดาษสมุด ใช้เจลเทียนเป็นเชื้อเพลิงไม่ขึ้นเช่นกัน เพราะเชื้อเพลิงหมดก่อน ส่วนโคมลอยที่ซื้อมาลอยขึ้นไม่มีปัญหาอะไร ช่วงบ่ายพี่ๆ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปความรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ