เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถบอกวิธีที่จะคงสภาพของน้ำแข็งให้นาน อีกทั้งนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
25 - 29
..
58
โจทย์ เปลี่ยนสถานะของน้ำ (ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง)

Key Question :
นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรให้น้ำแข็งละลายได้ช้าที่สุด?

เครื่องมือคิด :
·     Brainstorms 
-     ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับแหล่งที่มาของน้ำ
-     ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่จะนำมาทำให้น้ำแข็งละลายช้าที่สุด
·     Round Robin
-     สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้น้ำแข็งละลายช้า
-      สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับลักษณะของของเหลวสามชนิดน้ำเปล่า น้ำเกลือ น้ำเชื่อม
-     สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำให้นมกลายเป็นของแข็ง
·     Round Table เขียนแหล่งกำเนิดของน้ำ
·     Wall Thinking
  - ติดชิ้นงานสรุปการทดลองการละลายของน้ำแข็ง
  - ติดชิ้นงานสรุปการทดลองการรักษาสภาพน้ำแข็ง

ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   สื่อจริง อุปกรณ์ใช้ในการทดลองต่างๆ เช่น น้ำแข็ง น้ำเปล่า น้ำเชื่อม น้ำเกลือ
-   นม วุ้น และผลไม้
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “น้ำมาจากไหน?”
เชื่อม :
-   ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของน้ำ
-  นักเรียนเขียนแหล่งน้ำธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นมา โดยใช้เครื่องมือการคิด Round Table
ชง :
-   ครูให้นักเรียนสังเกต “น้ำแข็งที่ใส่ในแก้ว” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะทำอย่างไรให้น้ำแข็งอยู่ได้นานที่สุด?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีทำให้น้ำแข็งอยู่ได้นานที่สุด
ชง : นักเรียนทดลองหาวิธีที่จะทำให้น้ำแข็งอยู่ได้นานที่สุด (โดยใช้แกลบ ดิน ฯลฯ)
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้น้ำแข็งอยู่ได้นาน
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปการทดลอง (ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล)



วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
 - นักเรียนสังเกต น้ำเปล่า น้ำเกลือ น้ำเชื่อม ให้นักเรียนสังเกต
 - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าทั้งสามแก้วเป็นอะไรบ้าง แก้วไหนจะกลายเป็นน้ำแข็งก่อน และอะไรจะเดือดก่อน?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับสิ่งจะเกิดขึ้น (ตั้งสมมุติฐาน)
ชง : นักเรียนทำการทดลองแช่น้ำทั้งสามชนิดกับน้ำที่เย็นจัด
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับสิ่งจะเกิดขึ้นจากการทดลอง
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปการทดลอง
(ตั้งสมมุติฐาน วิธีทดลอง สรุปผลการทดลอง)

วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
-    ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้ทำมา
-    ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้ของเหลวเปลี่ยนเป็นของแข็งได้?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับวิธีทำให้ของเหลวเปลี่ยนเป็นของแข็ง
ชง : นักเรียนสังเกต นม ผงวุ้น ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีอย่างไรทำนมกลายเป็นของแข็ง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับการเปลี่ยนนมให้เป็นของแข็งจากวุ้น
ใช้ : ครูและนักเรียนทำวุ้นนมใส่ผลไม้
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้:
ภาระงาน
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของน้ำ 
-   วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล เกี่ยวกับการทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง
-   สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำให้น้ำเป็นน้ำแข็ง และน้ำกลายเป็นแก๊ส
-    สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำวุ้นนม


ชิ้นงาน
-   สรุปการทดลองการคงสภาพของน้ำแข็ง
-   สรุปการทดลองการเปลี่ยนสถานะของของเหลว
-   วุ้นนมใส่ผลไม้
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและอธิบายแหล่งที่มาของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของของเหลวต่างชนิดกัน สามารถบอกวิธีที่จะคงสภาพของน้ำแข็งให้นาน อีกทั้งนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- มีเป้าหมายและมีการวางแผนในการทดลองหาวิธีให้น้ำแข็งละลายช้าที่สุด
- อธิบาย สรุปองค์ความรู้ได้จากการทดลอง
- นำความรู้ในการทดลองไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ (ทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง ทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง และการทำวุ้นนม)
ทักษะการสื่อสาร
พูดอธิบายนำเสนอผลการทดลองให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
การจัดลำดับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทดลองอย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นขณะทำการทดลองต่างๆ ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบตกแต่งสรุปการทดลองได้อย่างเหมาะสม
- แก้ไขปัญหาระหว่างการทดลอง เช่น ไทดลอง เช่น ไฟลุก น้ำที่ทดลองหก สามารถใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ทดแทนได้

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการค้นหารข้อมูลการทดลองต่างๆ
มีความพยายาม อดทนในการทดลองเพื่อหาคำตอบให้สำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและกล้าแสดงความคิดเห็นขณะทดลอง






กิจกรรม  























 ชิ้นงาน




















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ เข้าสู่การเรียนรู้เรื่องน้ำ โดยวันจันทร์ นี้ พี่ๆ บางคนยังทำปฏิทินการเรียนรู้ไม่เรียบร้อย คุณครูจึงให้ตกแต่งเพิ่มเติมและนอกจากนั้นพี่ๆ ยังไม่ได้ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยพี่ๆ ช่วยกันตั้งชื่อหลายชื่อ แต่ละชื่อมีความหมายอย่างไร ชื่อที่พี่ๆ เลือกและให้ความหมายได้ดี คือชื่อที่พี่ฟีฟ่าตั้งมา “คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง” โดยพี่ให้ความหมายของหน่วยนี้ว่า คิดที่จะรู้ให้รอบๆ ตัว คิดดี กับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่รอบๆ ตัวเราและอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุขค่ะ จากนั้นพี่ๆ ทำงานปฏิทินที่ยังไม่เรียบร้อย ส่วนคนที่เรียนร้อยแล้วช่วยกันทำป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้ “คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง” การบ้านของวันนี้คุณครูตั้งคำถามกับพี่ๆว่า ถ้าเราไม่ตู้เย็นหรือกระติกน้ำแข็งจะมีวิธีเก็บน้ำแข็งไว้อย่างไรให้ได้นานที่สุด (สอบถามจากผู้ปกครองหรือค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต)
    วันอังคารครูทบทวนการบ้านของพี่ๆ โดยพี่ต้นกล้าบอกว่า “ใช้เกลือ กับถังครับ” พี่ก้อง “ใช้แกลบกับกะลาครับ” พี่โอ๊ต “แกลบครับ” เพื่อนอีกหลายคนก็คิดเห็นเหมือนกันว่าต้องใช้แกลบ เนื่องจากนักเรียนในชั้นมี 5 กลุ่ม ครูจึงให้โจทย์ไปว่า จะมีวิธีไหนทำได้อีกโดยหาวัสดุ อุปกรณ์ที่มีในโรงเรียนของเรา พี่ๆ จึงแบ่งการทดลองออกเป็นดังนี้ กลุ่ม 1 ฝังดิน กลุ่ม 2 ใบไม้ กลุ่ม3 แกลบ กลุ่ม4 เกลือกับกะละมัง กลุ่ม5 กะลามะพร้าว
    จากนั้นพี่ๆ แต่ละกลุ่มช่วยกันทดลองโดยครูให้น้ำแข็งคนละหนึ่งก้อนและให้เวลาแต่ละกลุ่ม 10 นาทีในการเก็บน้ำแข็ง เมื่อครบเวลา เทน้ำใส่แก้ว และน้ำมาวัดปริมาตรของน้ำแต่ละกลุ่ม ผลการทดลองออกมาดังนี้ แกลบ<ใบไม้=เกลือกับกะละมัง<กะลามะพร้าว<ฝังดิน จากการทดลองนี้คุณครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าอย่างไร พี่วาหวา “น้ำแข็งละลายช้าในแกลบค่ะ” พี่ไอซ์ ฝังดินน้ำแข็งละลายดีที่สุดค่ะ” เพื่อนคนอื่นๆ ตอบคล้ายๆ กัน จากนั้นคุณครูให้พี่ๆ สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ในวันนี้
    วันศุกร์ พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนของเหลวเป็นของแข็งอีกหนึ่งวิธีคือการทำวุ้นนม ซึ่งวันศุกร์นี้เป็นวันที่พี่ๆ ได้ห่อข้าวมาโรงเรียนพอดีคุณครูจึงให้พี่ๆ ได้เตรียมผลไม้มาใส่วุ้น ก่อนทำวุ้นครูและพี่ๆ ได้ทบทวนการเปลี่ยนแปลงของเหลวเป็นของแข็ง เช่น แช่ตู้เย็น ใส่เกลือเขย่า จากนั้นพี่ๆ ได้เรียนรู้การทำวุ้นผลไม้ที่ครัว หลังจากทำเสร็จรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน ช่วงบ่ายพี่ๆ ได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้มาทั้งสัปดาห์และสรุปการเรียนรู้ของตนเอง ในช่วยพิธีนมพี่ๆ ได้รับประทานวุ้นอย่างเอร็ดอร่อยค่ะ

    ตอบลบ