เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: คิดรู้ คิดดี กับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเกิดความใคร่รู้อยากเรียนรู้ เรื่อง “การเปลี่ยนแปลง” อีกทั้งนักเรียนสามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถวางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ได้ 
                              
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
18 - 22
..
58
โจทย์ วางแผนการเรียนรู้

Key Questions :
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะอะไร?
- นักเรียนจะตั้งชื่อสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ว่าอย่างไร?
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร?
- นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ “การเปลี่ยนแปลง”?

เครื่องมือคิด :
·     Brainstorms 
-      ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากรู้และสิ่งที่รู้แล้ว
-      ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
-      ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดลอง
·  Blackboard Share ออกแบบกิจกรรมในปฏิทินในแต่ละสัปดาห์
·   Card and Chart เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
·   Think Pair Share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
·   Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
·   Wall Thinking 
-      ติดชิ้นงานใบงานการทดลองการเปลี่ยนแปลง
-     ติดชิ้นงานปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
-     ติดชิ้นงานป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
-      ติดชิ้นงานสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์ :
-      บรรยากาศในชั้นเรียน
-      สื่อจริง เทียนไข ดินน้ำมัน น้ำ 
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูให้นักเรียนสังเกตของ 3 อย่าง (น้ำ ดินน้ำมัน เทียนไข)
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นและลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่าง น้ำ ดินน้ำมัน เทียนไข
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า ถ้าน้ำ ดินน้ำมัน เทียนไขนี้ถูกความร้อนและความเย็นจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
-   ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คิดว่าจะเกิดขึ้นจากการถูกความร้อนและความเย็นของ น้ำ ดินน้ำมัน เทียนไข
-   นักเรียนทำการทดลองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและบันทึกผลพร้อมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดใน Quarter นี้ เพราะเหตุใด”
เชื่อม : นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดยผ่านเครื่องมือการคิด Card and Chart จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ 
วันอังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
-   ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนของเราว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้ “การเปลี่ยนแปลง”
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและอยากเรียนรู้อะไรบ้าง เพราะเหตุใด?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง (โดยผ่านเครื่องมือการคิด Blackboard Share)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยากทำในแต่ละสัปดาห์ตลอด Quarter นี้ (โดยผ่านเครื่องมือการคิด Blackboard Share)
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 2 คนเพื่อจัดทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ ลงในกระดาษ  (A3) สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ลงกระดาษ (ปรู๊ฟ) และทำป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้ “การเปลี่ยนแปลง”



วันศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไร?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ :
-        นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
-        นักเรียนตกแต่งปฏิทินการเรียนรู้เพิ่มเติม
การบ้าน (สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน)
ภาระงาน
-   วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดจากความร้อน/ความเย็น จากการทดลอง
-   นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
                               
ชิ้นงาน
-   ใบงานสรุปการทดลองการเปลี่ยนแปลง
-   Card  and Chart เลือกหน่วยการเรียน
-   ป้ายชื่อหน่วยการเรียน
- สิ่งที่รู้แล้วและ สิ่งที่อยากเรียนรู้
เค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้ 11 สัปดาห์
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-   สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
-   เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเรา
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สามารถสร้างทางเลือกในการวางแผนปฏิทินและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ได้
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้  หัวข้อหน่วยการเรียนรู้ที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น






กิจกรรม   













ชิ้นงาน




















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนรู้พี่ๆ ในวันแรกพี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว โดยครูตั้งโจทย์ ว่าดินน้ำมัน น้ำและเทียนไข สามสิ่งนี้เมื่อโดนความร้อนและความเย็นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง โดยครูให้พี่ๆ ได้คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นก่อนจากนั้น ลงมือทดลองโดยให้ความร้อนกับของทั้งสามสิ่ง โดยส่วนมาแล้วพี่ๆ จะคาดเดาได้ผลเหมือนกับการทดลองจริง เพราะสิ่งต่างๆ อยู่รอบๆ ตัวเช่น เคยต้มดินน้ำมันแล้วดินน้ำมันมีของเหลวไหลออกมา ต้มน้ำแล้วน้ำร้อนเป็นไอ ต้มเทียนไขแล้วละลาย ครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ แล้วทำไมเมื่อโดนความร้อนเทียนไขละลาย น้ำกลายเป็นไอ แต่เมื่อเย็นลงน้ำไม่กลายเป็นของแข็งเหมือนเทียนไข พี่ต้นกล้าบอกว่าเทียนไขข้นกว่าน้ำ จากนั้นทดลองกับความเย็น ผลปรากฏว่าน้ำเย็น เทียนไขและดินน้ำมันแข็ง พี่ๆ บอกว่าความเย็นไม่พอที่จะทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็งต้องใส่เกลือเพิ่ม แต่สามารถทำให้ดินน้ำมันและเทียนไขแข็งได้ ทุกคนสรุปการเรียนรู้ของวันนี้ของตนเองโดยทำเป็นคู่ จากนั้น คุณครูให้พี่ๆ ได้เลือกหน่วยการเรียนรู้ที่จะเรียนใน Quarter นี้ ส่วนมากจะลงความเห็นว่าเรียนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เรียนการทำไอศกรีมและการเปลี่ยนแปลงของไอศกรีม และมีเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของหนอนไหม โดยสรุปทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามาในหัวข้อการเรียนรู้ คุณครูและพี่ๆ ป.3 จึงสรุปหน่วยการเรียนรู้ของเราใน Quarter นี้ ว่าเราจะเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
    วันอังคารพี่ๆ ช่วยกันคิดสิ่งที่อยากรู้และสิ่งที่รู้แล้วจากนั้นเขียนลงกระดาษแผ่นเล็กและติดรวมกัน
    วันศุกร์มีการเรียนด้วยกัน 3 ชั่วโมง โดยในช่วงเช้าพี่ๆ ช่วยกันออกแบบกิจกรรมและชิ้นงานที่จะเกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ โดยคุณครูช่วยเสนอแนะเพิ่มเติม สำหรับช่วงบ่าย พี่ๆ เขียนลงใสกระดาษและตกแต่งระบายสี แต่บางกลุ่มยังไม่เสร็จ คุณครูจึงให้เก็บไว้ก่อน และให้พี่ๆ ช่วยกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์ เรียนรู้อะไรบ้าง รู้อย่างไร นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือไม่มีวิธีการแก้ไขอย่างไร ทุกคนสรุปออกมาคล้ายกันค่ะ คือกิจกรรมที่ได้ทดลอง และวางแผนการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้พี่ๆ ยังไม่ได้สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน คุณครูจึงวางแผนให้ได้เขียนในสัปดาห์ถัดไป

    ตอบลบ